www.touronthai.com

หน้าหลัก >> กาญจนบุรี >> วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

 วัดทิพย์สุคนธาราม จัดสร้างพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ พระนามว่าพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ โดยพระพุทธรูปปางคันธารราฐหรือปางขอฝน มีพุทธลักษณะพระอิริยาบถยืนตรง ทรงผ้าวัสสิกสาฎก พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระอุระ หรืออก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝน ซึ่งจะจัดสร้างและประดิษฐานที่วัดทิพย์สุคนธาราม ต.ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ตามเจตนารมณ์ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัด ชนะสงคราม ที่มรณภาพไปแล้ว

มีการแถลงสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางขอฝน สูง 32 เมตร หรือมีขนาดเท่าๆ เทพีเสรีภาพ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก "สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ" ทรงรับเป็นประธานอุปถัมภ์ตามเจตนารมณ์สมเด็จพระมหาธีราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เพื่อรำลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยันที่ถูกระเบิดทำลาย ประดิษฐานในพื้นที่ 300 ไร่ วัดทิพย์สุคนธาราม จ.กาญจนบุรี เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่หอประชุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ แถลงเปิดโครงการ นายพลากร สุวรรณรัฐ ประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ มีความประสงค์ที่จะจัดสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่สูง 32 เมตร เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะอีกแห่งหนึ่ง มีพระนามว่า พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ ซึ่งมีความหมาย 3 ประการ คือเป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของชาวไทยและชาวโลก รวมทั้งเป็นพระพุทธรูปซึ่งเป็นที่พึ่งของ 3 โลก คือ โลกสวรรค์ โลกมนุษย์ และยมโลก และเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น เพื่อรำลึกถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยัน ในประเทศอัฟกานิสถาน อันเป็นฐานที่มั่นของพระพุทธศาสนามาเป็นเวลากว่าสองพันปี ที่ถูกระเบิดทำลายไปเมื่อปี 2544

นายพลากร กล่าวต่อว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้กำหนดพื้นที่กว่า 300 ไร่ ในวัดทิพย์สุคนธาราม ซึ่งเป็นพื้นที่แล้งน้ำ ชาวบ้านต้องบรรทุกน้ำเข้ามาใช้อุปโภค บริโภค ประดิษฐานพระพุทธรูปปางขอฝน ที่จะสร้างด้วยโลหะสัมฤทธิ์ สูง 32 เมตร ปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบให้เป็นพุทธอุทยาน ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดประมาณ 4 ปี บวงสรวงในวันจันทร์ที่ 22 ส.ค. เวลา 11.59 น. บริเวณจัดสร้างองค์พระ ที่สำคัญนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เททองชิ้นส่วนสำคัญขององค์พระพุทธรูป ในเดือน ส.ค.2555 

การเดินทางไปวัดทิพย์สุคนธาราม เริ่มที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 (ถนนบางบัวทอง - สุพรรณบุรี) เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357 (ทางเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี) สังเกตปั้มน้ำมันปตท. ด้านซ้าย ขับตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 357 จนมาเจอทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 321 ให้เลี้ยวซ้ายขับไปจนพบวงเวียนหอนาฬิกาบรรหาร - แจ่มใส ให้เลี้ยวซ้ายมุ่งสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 324 (ถนนอู่ทอง) ถึงสามแยกบ่อพลอย ให้เลี้ยวขวามุ่งสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3342 (ถนนอู่ทอง - บ่อพลอย) ประมาณ 18 กม. ทางเข้าวัดทิพย์สุคนธารามอยู่ทางซ้ายมือ ระหว่างเดินทางจะมองเห็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ได้แต่ไกล

การเดินทางไปวัดทิพย์สุคนธาราม

ข้อมูลเพิ่มเติม:ททท.กาญจนบุรี โทร. 034 511 200
http://www.tourismthailand.org/kanchanaburi

แก้ไขล่าสุด 2016-05-29 15:32:46 ผู้ชม 85874

การเดินทาง แผนที่ ที่เที่ยว/ที่พัก

กดติดตามการเดินทางของเราใน Youtube ด้วยนะคะ
พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์

พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์  

ความสูงใหญ่ของพระพุทธรูปสูง 32 เมตร พระนามว่า พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ ที่มองไกลๆ แล้วสูงเท่าภูเขาด้านหลัง ทรงผ้าวัสสิกสาฎก หรือผ้าอาบน้ำฝน พระหัตถ์ขวายกขึ้นราวพระอุระ ทำกริยากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายหงายขึ้น เป็นกริยารองรับน้ำฝน หล่อด้วยสำริดที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT ทดสอบรับแรงพายุและแรงแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด เพื่อให้องค์พระฯ มีความคงทนถาวรนับพันปี 

 

ลานสักการะพระพุทธรูป

ลานสักการะพระพุทธรูป เป็นจุดที่ผู้คนจะเดินมาจุดธูปเทียน และนำดอกไม้มาบูชาพระพุทธรูป

เป็นลานกลมๆ มีศาลาสองหลัง มีเจ้าหน้าที่นำธูปเทียนและดอกไม้มาไว้บริการคนที่จะมากราบไหว้พระ

ระหว่างทางเดินไปสู่องค์พระ 2 ข้างทางเดินเขียวขจีไปด้วยต้นไม้ ในภาพเดียวไม่สามารถแสดงความกว้างขวางของพื้นที่ 300 ไร่ ที่อยู่รอบๆ ได้หมด คนที่เคยมาสถานที่นี้ครั้งแรกต่างก็ต้องประทับใจและประหลาดใจกับสิ่งที่เห็น นอกเหนือจากความยิ่งใหญ่ขององค์พระพุทธรูปแล้ว อาคารต่างๆ ภายในบริเวณที่ปรับให้เป็นพุทธอุทยาน ก็สร้างด้วยรูปทรงที่ไม่เหมือนกับที่เคยเห็นที่ไหน จากน้ำพุที่ถนน เดินเข้ามาถึงบริเวณลานสักการะก็ว่าไกลแล้ว จากลานสักการะเดินเข้าไปถึงฐานพระก็ยังอีกไกล

ด้านตรงข้ามกับองค์พระ เป็นลานน้ำพุ ซึ่งอยู่ไกลจากลานสักการะบูชาลงไปไกลอีกเช่นกัน บ่งบอกว่าเป็นพุทธอุทยานที่กว้างมากแห่งหนึ่งในประเทศไทย


วัดทิพย์สุคนธาราม

จากลานสักการะบูชา ยังคงมีระยะที่ต้องเดินเข้ามาถึงฐานพระพุทธรูปอีกไกลมาก เราเข้ามากราบขอพรในระยะใกล้ๆ จะสัมผัสได้ว่าพระพักต์ขององค์พระเปี่ยมด้วยความเมตตา และองค์สูงใหญ่มากจริงๆ 

มีตำนาน เขาเล่าว่า......พระปางขอฝน ตามตำนานครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นฝนแล้งมาก แต่ด้วยพระบารมีของพระพุทธเจ้า ได้ทรงพลิกพื้นที่แห้งแล้งให้มีน้ำฝนหลั่งไปทั่วทุกสารทิศ เปรียบดังที่อำเภอห้วยกระเจานี้มีภูมิประเทศที่แห้งแล้งจนเรียกได้ว่า อีสานจังหวัดกาญจนบุรี จึงเป็นที่มาของการสร้าง...พระปางขอฝน ที่สุดแห่งความศรัทธากับประติมากรรมทางพุทธศิลป์ พระพุทธรูปสำริดปางขอฝน ที่สูงที่สุดในประเทศไทยและงดงาม... ว่ากันว่า หากได้มากราบไหว้ ชีวิตจะพบแต่ความร่มเย็นเป็นสุขดั่งแผ่นดินที่ได้รับสายฝน

วัดทิพย์สุคนธาราม

อาคารนิทรรศการ

อาคารนิทรรศการ "อนุสรณ์แห่งการตื่นรู้" อาคารที่สำคัญที่สุดหลังหนึ่งอยู่ด้านขวาขององค์พระพุทธรูป มีทางแยกออกไปจากบริเวณลานสักการะ เป็นอาคารที่ต้องบอกว่าถ้ามาที่นี่เราควรเข้าไปดู เพราะข้อมูลตั้งแต่การออกแบบและการสร้างองค์พระพุทธรูป โดยเฉพาะข้อมูลทางด้านวิศกรรมที่ออกแบบให้องค์พระพุทธรูปสูง 32 เมตร สามารถยืนเด่นตระหง่านอยู่ได้ แม้เกิดลมพัดรุนแรง หรือแผ่นดินไหว รวมทั้งข้อมูลอื่นๆ ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) อดีตเจ้าอาวาสวัด ชนะสงคราม ที่ริเริ่มจะสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ 

รูปเหมือน สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9)

รูปเหมือน สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) เมื่อเข้ามาในอาคารหลังนี้ เป็นอาคารติดแอร์ทั้งหลัง ภายในแบ่งออกเป็นหลายห้อง มีทางเดินเชื่อมถึงกันได้หลายชั้น แล้วต้องเดินมาใช้ทางออกทางเดิม เริ่มจากห้องแรกเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับการริเริ่มโครงการล้อมรอบรูปเหมือนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) ด้านหนึ่งของห้องนี้ เป็นนิทรรศการพระผู้ฝากดีไว้ในแผ่นดิน มีคำสอนของหลวงพ่อตอนหนึ่งว่า "หลวงพ่อเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่า ถ้าเราทำอะไรอย่างบริสุทธิ์ใจแล้ว ก็จะเจริญงอกงาม แต่ถ้าไม่บริสุทธิ์ใจ ต้องดูกันต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร ในผลสุดท้าย เราต้องเชื่อคำสอนของพระพุทธองค์เป็นสำคัญ"

นิทรรศการ พระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2553 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ ไปในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และทรงสดับพระธรรมเทศนา เนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดชนะสงคราม สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้ถวายพระพร ถึงเรื่องความตั้งใจที่จะจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาคคันธารราฐอนุสรณ์แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ต่อมาวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา และมีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

    "...โครงการนี้เกิดจากความริเริ่มของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์...ท่านได้ปรารภกับข้าพเจ้าเรื่องความตั้งใจที่จะสร้างพระพุทธรูปองค์สำคัญขึ้น... เพื่อเป็นศูนย์รวมความเคารพของพุทธศาสนิกชนอีกแห่งหนึ่ง และเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยัน...รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา กับเพื่อเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้าที่จะมีอายุ 80 ในปีหน้า เมื่อข้าพเจ้าได้ทราบ ข้าพเจ้าก็รับปากกับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ว่า ข้าพเจ้าจะขอร่วมทำบุญและจะพยายามสนับสนุนโครงการนี้ให้ดำเนินไปจนสำเร็จ

    บัดนี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ท่านได้มรณภาพแล้ว... ข้าพเจ้าจึงรับเป็นผู้อุปถัมภ์โครงการและปวารณาว่าจะดำเนินการให้ลุล่วงดั่งความตั้งใจของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์... พระพุทธรูปองค์นี้ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ท่านเป็นผู้ออกแบบดูแลแก้ไข และเลือกทำเลที่จะประดิษฐานด้วย ตามแบบเป็นพระพุทธรูปปางคันธารราฐ หรือที่เรียกว่า ปางขอฝน หล่อด้วยโลหะสำริด สูง 32 เมตร ยืนบนฐานสูง 8 เมตร มีพุทธลักษณะงามมาก..."


นิทรรศการ พระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ มีพระราชศรัทธาบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ร่วมสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ โดยเฉพาะสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นอกจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ที่พระราชทานมาเป็นระยะๆ แล้ว ยังทรงบอกบุญแก่ผู้มาเข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่างๆ ด้วย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปทรงเททองหล่อชิ้นส่วนสำคัญของพระพุทธเมตตาประชาไทยฯ (พระอังคุฐของพระหัตถ์ขวา) ณ วัดชนะสงคราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

ด้านหลังรูปเหมือนขององค์พระมหาธีราจารย์ จะสามารถมองลงมาที่ชั้นล่างได้ สิ่งที่เราเห็นอยู่เบื้องล่าง คือพระบาทขององค์พระพุทธรูป ที่สร้างจำลองเหมือนของจริงทุกประการและมีขนาดเท่าจริง ที่ได้สร้างจำลองมาให้เราได้ชมกันนั้นก็เพื่อจะได้เห็นว่าการออกแบบองค์พระพุทธรูปที่สูงใหญ่ให้แข็งแรงทนต่อลมกรรโชก หรือแผ่นดินไหว ด้วยการทำงานด้านวิศกรรมที่ซับซ้อนและทันสมัย แต่มองจากตรงนี้คงจะไม่เห็นรายละเอียดมาก ลงไปดูด้านล่างกันเลยดีกว่า

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

โครงสร้างด้านในของพระพุทธรูปบริเวณพระบาท เปิดให้เราได้เห็นโดยมีวิทยากรบรรยายให้ความรู้เป็นอย่างดีถึงเรื่องการคำนวณต่างๆ ด้านวิศกรรม การเลือกใช้วัสดุของโครงสร้าง การเชื่อมต่อกัน ฯลฯ จึงมั่นใจได้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้จะยืนเด่นตระหง่านคู่บ้านคู่เมืองไปได้อีกนานแสนนาน

วัดทิพย์สุคนธาราม

ภาพแสดงขั้นตอนการออกแบบองค์พระ การปั้นองค์พระต้นแบบ รวมทั้งการทำงานทุกๆ ด้าน ในการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ มีให้เราได้เห็นพร้อมข้อมูลอธิบายอย่างละเอียดทุกขั้นตอน ในอาคารนิทรรศการการสร้าง พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ในพระบรมราชินูปถัมถ์ ​

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

เมื่อเดินต่อมาเรื่อยๆ เราจะเข้ามาอยู่ที่ห้องอีกห้องหนึ่ง ภายในห้องนี้เราจะได้เห็นโครงสร้างแบบเดียวกันกับที่อยู่บนพระพุทธรูปส่วนพระอุระ ซึ่งออกแบบให้แข็งแรงคงทน ตามหลักวิศวกรรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ

ศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช

ศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นห้องที่แสดงศิลาจารึก พระเจ้าอโศกมหาราช ณ เธาลี รัฐโอริสสา ที่จำลองขึ้นมา ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราชนั้นมีทั้งที่จารึกบนเสาศิลาและจารึกบนโขดหินธรรมชาติซึ่งปรากฏอยู่ตามเมืองต่างๆ ในราชอาณาจักรและแว่นแคว้นใกล้เคียง จารึกเหล่านี้กล่างถึงหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การดูแลทุกข์สุขราษฎร จารึกพระเจ้าอโศกมหาราชจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนา เผยแผ่ทั่วทั้งชมพูทวีปและดินแดนนอกชมพูทวีป ศิลาจารึกพระเจ้าอโศกมหาราช ณ เธาลี รัฐโอริสสา นับเป็นจารึกบนโขดหินธรรมชาติที่มีความสำคัญ เนื่องด้วยพระเจ้าอโศกมหาราชโปรดให้ทำขึ้น ณ สมรภูมิสุดท้ายของพระองค์ (สงครามแคว้นกลิงคะ) เพราะทรงสลดพระราชหฤทัยที่ทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสูญเสียชีวิตไพร่พลจำนวนมาก จารึกนี้สลักรูปช้าง หมายถึง พระพุทธศาสนา และจารึกข้อความด้วยอักษรพราหมีภาษาปรากฤต ความว่า พระองค์ทรงกำชับให้ขุนนางดูแลราษฎรอย่างใกล้ชิดประดุจลูกของพระองค์เอง

นิทรรศการเจดีย์ แบบต่างๆ

นิทรรศการเจดีย์ แบบต่างๆ ห้องนี้เราจะได้เห็นภาพและข้อมูลของเจดีย์องค์สำคัญๆ ต่างๆ ทั่วโลก และที่มาของความเชื่อในการสร้างเจดีย์ รวมไปถึงพระพุทธรูป

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม

หลังจากเดินชมนิทรรศการครบทุกห้องแล้วต้องเดินย้อนกลับขึ้นมาทางเดิมเพื่อออกจากอาคาร

 

วัดทิพย์สุคนธาราม

วัดทิพย์สุคนธาราม  

จากพุทธอุทยาน พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ แล้ว ขับรถไปต่ออีกประมาณ 1-2 กิโลเมตร จะถึงวัดทิพย์สุคนธาราม ตั้งอยู่ริมถนน สวยเด่นเป็นสง่างามมาก

วัดทิพย์สุคนธาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2547

โดย นางฉันทิพย์ กลิ่นโสภณ ได้บริจาคที่ดินกว่า 300 ไร่ พร้อมด้วยทุนทรัพย์เป็นทุนสมทบในการสร้างวัด เพื่อประโยชน์ทางพระพุทธศาสนาและประชาชนทั่วไป โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม รับอุปถัมภ์การสร้างวัด และเสนาสนะต่าง ๆ พร้อมทั้งตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า "วัดทิพย์สุคนธาราม" และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2556

วัดทิพย์สุคนธาราม

อุโบสถ สร้างขึ้นในรูปแบบสถาปัตยกรรมศิลปะล้านนา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2558 บันไดพญานาคสีทองยาวไปจนถึงอุโบสถ งดงามตระการตามาก

อุโบสถวัดทิพย์สุคนธาราม

อุโบสถวัดทิพย์สุคนธาราม ประดิษฐาน พระพุทธชินราชประชานาถชุตินธรบวรชัยมงคล และมี พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ องค์จำลองให้สาธุชนกราบไว้บูชาอีกด้วย 

หน้าต่างประตูทำจากไม้แกะสลักเป็นรูปเทพเทวดา สวยงามมาก

ขอขอบคุณ ททท. ภูมิภาคภาคกลาง และ ททท. สำนักงานกาญจนบุรี  มา ณ โอกาสนี้

0/0 จาก 0 รีวิว

10 ที่พัก/โรงแรมใกล้ วัดทิพย์สุคนธาราม กาญจนบุรี
แอท เมืองพลอย รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  32.54 km | แผนที่ | เส้นทาง
พลูหลวงแมนชั่น เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  32.58 km | แผนที่ | เส้นทาง
EAUSTAY HOLIDAY ROOM เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  35.88 km | แผนที่ | เส้นทาง
บ้านดิน ริมน้ำ รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  36.12 km | แผนที่ | เส้นทาง
แกรนด์ พริซ กอล์ฟ คลับ เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  37.97 km | แผนที่ | เส้นทาง
27Resort เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  39.83 km | แผนที่ | เส้นทาง
ถุงดินดำ รีสอร์ต เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  46.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
ยูเรเซีย รีโซเทล กาญจนบุรี เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  51.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
โรงแรม ปิคโคโร่ เฮาส์
  54.72 km | แผนที่ | เส้นทาง
วนาแก้ว รีสอร์ท เช็คห้องว่าง/ราคา/จอง
  57.08 km | แผนที่ | เส้นทาง
สถานที่ท่องเที่ยวใกล้ วัดทิพย์สุคนธาราม กาญจนบุรี
วัดสระลงเรือ กาญจนบุรี
  9.16 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระปรางค์เขารักษ์ กาญจนบุรี
  14.50 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนอรอนงค์ชวนชม กาญจนบุรี
  22.92 km | แผนที่ | เส้นทาง
สวนกล้วยไม้แอฟฟีนิท สุพรรณบุรี
  24.81 km | แผนที่ | เส้นทาง
วนอุทยานพุม่วง สุพรรณบุรี
  26.90 km | แผนที่ | เส้นทาง
พุหางนาค ป่าแห่งจินตนาการ ผลงานธรรมชาติ 100 ล้านปี
  28.61 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ
  29.88 km | แผนที่ | เส้นทาง
พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักหน้าผา เขาทำเทียม
  29.99 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดลาดขาม (หลวงพ่อแสนเหรียญ) กาญจนบุรี
  30.59 km | แผนที่ | เส้นทาง
วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม (วัดเขาพระ) สุพรรณบุรี
  31.38 km | แผนที่ | เส้นทาง

*หมายเหตุ ระยะทางเป็นระยะโดยประมาณ

Line id: @touronthai (ใส่ @)
www.touronthai.com